อะไรคือ การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือ พวต. (Continuing Professional Development : CPD) ??
การ
พัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือ พวต. (Continuing Professional Development :
CPD)
คือการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมทุกระดับ
โดยการเข้าร่วมหลักสูตรหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์หรือมีเนื้อหาสาระในอัน
ที่จะยกระดับความรู้
ความสามารถและประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
เกี่ยวกับระบบ CPD
![]() |
หลักการทั่วไปของระบบ CPD |
จุดมุ่งหมายของระบบ CPD คือการช่วยให้คุณ:
เน้นความเป็นมืออาชีพ
เก็บบันทึกส่วนตัวของกิจกรรม CPD
เก็บบันทึกส่วนตัวของกิจกรรม CPD
วางแผนอาชีพการพัฒนาตนเองและในอนาคตขอ
หลักฐานความสามารถของคุณที่จะอยู่ใน 'สถานะที่ดี'
วงจรการวางแผนการเป็นกระบวนการซ้ำ ซึ่งจะสามารถตีความแตกต่างกันขั้นตอนขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งค่าออกในการเดินทางการพัฒนามืออาชีพเป็นครั้งแรกหรือมีส่วนร่วมอยู่แล้วในแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่วนบุคคล
หลักฐานความสามารถของคุณที่จะอยู่ใน 'สถานะที่ดี'
วงจรการวางแผนการเป็นกระบวนการซ้ำ ซึ่งจะสามารถตีความแตกต่างกันขั้นตอนขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งค่าออกในการเดินทางการพัฒนามืออาชีพเป็นครั้งแรกหรือมีส่วนร่วมอยู่แล้วในแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่วนบุคคล
ซึ่งในแง่ทางวิชาชีพสถาปนิก
ทาง
สภาสถาปนิกในฐานะที่เป็นหน่วยงานส่งเสริม
และกำกับมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
จึงได้ดำเนินการโครงการการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (Continuing Professional
Development : CPD) โดยมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพ
และพัฒนาศักยภาพความสามารถและประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม
ซึ่งเป็นการประกันมาตรฐาน และคุณภาพการให้บริการทางวิชาชีพ
เรื่องของ CPD ได้มีการกล่าวถึงมานานพอสมควรแล้ว พร้อมๆ กับเรื่องของ
Internship Development Program - IDP
ซึ่งคาดว่าจะมีร่างข้อบังคับตามมาในอนาคต
หลักการของการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องตามที่เขียนไว้ในหลักการและเหตุผลของ
ร่างข้อบังคับว่า
'เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะมีความรู้ความสามารถ
ที่ทันสมัยอยู่เสมอ
อันจะเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนในการให้บริการวิชาชีพ
อีกทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักการมาตรฐานระดับนานาชาติซึ่งมีการบังคับให้ผู้
ประกอบวิชาชีพได้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถและเสริมประสบการณ์ใหม่ๆ
ในระหว่างที่ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
โดย
ใน การประชุมใหญ่สามัญสภาสถาปนิก ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552
ได้มีการพิจารณาและผ่านร่างข้อบังคับสภาสถาปนิก 2 ฉบับ ได้แก่
1)
ร่าง
ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม
แต่ละระดับ การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต อายุใบอนุญาต
การออกใบแทนใบอนุญาต และการออกหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาต พ.ศ. …. และ
2) ร่าง ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. ….
สาระสำคัญของร่างข้อบังคับ ฉบับนี้คือ กำหนด
ให้ผู้ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อเก็บหน่วย
พวต. ไว้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาต
และใช้ประกอบการเลื่อนระดับเป็นสามัญสถาปนิกหรือวุฒิสถาปนิก
ซึ่งหลักเกณฑ์โดยทั่วไปก็คือต้องสะสมหน่วยพวต. 12 หน่วยต่อปี
ส่วนกิจกรรมพวต. ตามปกติได้แก่ การบรรยาย การฝึกอบรม ประชุมสัมมนา
การศึกษาดูงาน หรือการอื่นในทำนองเดียวกัน
แต่ก็ยังรวมไปถึงกิจกรรมอีกหลายอย่างที่เป็นการ contribute ให้แก่สังคม
แก่วิชาชีพ เช่น การเป็นวิทยากร เขียนบทความหรือแต่งหนังสือตำราทางวิชาการ
เสนอผลงานวิจัย การร่วมทำงานในองค์กรหรือสมาคมทางวิชาชีพ ฯลฯ
ในร่าง ข้อบังคับฉบับนี้ได้กำหนดกรอบของการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องในเรื่อง
ต่างๆ นอกจากเรื่องจำนวนหน่วย พวต. แล้ว ยังได้กำหนดกรอบในเรื่องของ
กิจกรรมพวต. ผู้จัดกิจกรรมพวต. การยื่นหลักฐานหน่วยพวต.
มาตรการในกรณีหน่วยพวต.ไม่ครบตามที่กำหนด
ฯลฯร่างข้อบังคับฉบับนี้มีบทเฉพาะกาลเพื่อยกเว้นไม่ต้องยื่นหลักฐาน พวต.
ให้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตและการเลื่อนระดับในระยะ 1 ปีหลังออกข้อบังคับ
และผ่อนผันจำนวนหน่วย พวต. สำหรับการต่ออายุและเลื่อนระดับในระยะ 1-5
ปีหลังออกข้อบังคับ
ตาม ที่ร่างข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง
(Continuing Professional Development) CPD หรือ พวต.
ผ่านการรับรองโดยเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกผู้เข้าประชุมใหญ่สภา
สถาปนิกประจำปี 2552 เมื่อวันเสาร์ ที่ 25 เมษายน 2552 แล้ว
โดยมีข้อแนะนำจากสมาชิกที่ต้องปรับ แก้ให้ข้อบังคับมีความชัดเจนสมบูรณ์
ก่อนที่สภาฯ จะเสนอกระทรวงมหาดไทยเพื่อประกาศใช้เป็นทางการต่อไป
เพื่อให้สมาชิกสภาสถาปนิกทุกท่านได้ทำความเข้าใจถึงที่มา
และเหตุผลเจตนารมณ์หลักการ
และวิธีดำเนินการในการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องอีกครั้ง
ก่อนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง
คณะอนุกรรมการพัฒนาวิชาชีพ
ขอสรุปประเด็นสำคัญเพื่อเผยแพร่แก่สมาชิกทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้
เจตนารมณ์ ของ CPD
1 . การพัฒนาวิชาชีพศึกษาต่อเนื่อง (CPD) เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning)
ที่ให้สถาปนิกได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพใหม่ตลอดเวลา
เพื่อให้มีความสามารถในการทำหน้าที่ตอบสนองสังคม
และส่วนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจริยธรรม และสำนึกรับผิดชอบต่อ ผลกระทบ
ที่จะเกิดจากการปฏิบัติวิชาชีพของตน CPD ที่สภาสถาปนิกผลักดันให้เกิดขึ้น
มิใช่เป็นเพียงการสร้างความเข้มแข็งในทางวิชาการวิชาชีพแก่สถาปนิกเท่านั้น
แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมให้สถาปนิกมีบทบาทในการทำงานเพื่อสังคมด้วยจิตอาสา
มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เสียสละเวลา
และมีส่วนร่วมกิจกรรมจรรโลงวิชาชีพ ตามกำลัง
และความถนัดเพื่อร่วมพัฒนาวิชาสถาปัตยกรรมให้เจริญก้าวหน้าไม่หยุดนิ่ง
ทั้งในฐานะผู้รับผู้ร่วมกิจกรรม หรือในฐานะผู้ให้
ผู้ชี้แนะแก่สถาปนิกรุ่นเยาว์
ด้วยประสบการณ์ที่ท่านสั่งสมมาตลอดชีวิตการทำงานวิชาชีพ
2
. เมื่อ CPD กลายมาเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการทำงานข้ามพรมแดน (Cross Border)
ของสถาปนิกภายใต้สัญญาการค้าเสรี สถาปนิกหลายท่านเห็นว่า CPD
กลายเป็นเงื่อนไขข้อกีดกันทางการค้า แต่หากพิจารณาด้วยเหตุผล
และใจที่เป็นกลาง CPD เป็นเพียงกลไกเทียบเคียงคุณภาพของสถาปนิกนั่นเอง
รายละเอียดร่างของ พวต. สามารถอ่านได้ที่ http://anon-72.blogspot.com/2010/09/cpd_14.html
รายละเอียดร่างของ พวต. สามารถอ่านได้ที่ http://anon-72.blogspot.com/2010/09/cpd_14.html
เนื่องจากปัญหา
· สถาปนิกที่เพิ่งจบมา เข้าทำงานนั้น ปฏิบัติวิชชาชีพไม่เป็น
· ความไม่มีมาตราฐานทางการศึกษา ปัญหาคุณภาพของมหาวิทยาลัย
· ในยุคปัจจุบัน ต้องการคนที่รู้จริง มีความสามารถ
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
· เพื่อยกระดับคุณภาพของวิชชาชีพ เพื่อสร้างคนเก่ง
· เพื่อแก้ปัญหาระดับการศึกษาที่ไม่เท่ากัน
หลักการ
- ต้องการ 60 หน่วย พวต. ภายใน 5 ปี
- 12 หน่วย พวต. / ปี
- คะแนน 2-6 หน่วย ต่อ 1 กิจกรรม (คะแนนจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมนั้นๆ)
- หลักสูตรไม่จ้องอนุมัติโดยกรรมการ แต่สามารถยื่นขอได้
ผู้จัดกิจกรรม CPD ได้แก่ สถาบัน องค์กร หรือ หน่วยงาน ดังต่อไปนี้
1. สภา สถาปนิก
2. องค์กร หรือ สมาคมทางวิชาชีพที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
3. สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ที่ทำการสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมที่ได้รับการรับรองปริญญา อนุปริญญา
ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร และ สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
4. หน่วยงานของรัฐที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
5. สถาบัน องค์กร หรือ หน่วยงานอื่นๆ ที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
ทั้งนี้ผู้จัดกิจกรรม CPD จะต้องเสนอแผนกิจกรรมเพื่อให้สภาฯ
พิจารณาให้ความเห็นชอบ รายการกิจกรรม และ การกำหนดหน่วย CPD
เสียก่อนที่จะเริ่มต้นกิจกรรมไม่น้อยกว่า 45 วัน
กิจกรรม CPD
ประเด็นนี้ สมาชิกหลายท่านยังเข้าใจผิดว่า CPD เน้นแต่การฝึกอบรม
หรือการศึกษาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมเท่านั้น แต่ CPD ที่สภาฯ
กำหนดนี้อยู่ในขอบข่ายกิจกรรม ที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังต่อไปนี้
1. การฝึกอบรม / ประชุม สัมมนา หรือ อื่น ๆ
2. เป็นวิทยากรในหลักสูตร หรือ กิจกรรมตามข้อ 1
3. เขียนบทความวิชาการ และ เผยแพร่ในการประชุมวิชาการ โดยมีเนื้อหาวิชาชีพ และสภาฯ ให้การรับรอง
4. เขียนหนังสือ / ตำราวิชาการที่เกี่ยว กับ วิชาชีพ และเผยแพร่ โดยสภาฯ ให้การรับรอง
5. เสนอผลงานวิจัย / วิชาการต่อที่ประชุมวิชาการโดยมีเนื้อหาวิชาชีพ และสภาฯ ให้การรับรอง
6. สำเร็จการศึกษาในระดับสูงขึ้น ในหลักสูตร / สาขาที่สภาฯ ให้การรับรอง
7. เป็นกรรมการ / อนุกรรมการ / คณะทำงานในสภาฯ หรือองค์กรวิชาชีพที่สภาฯ ให้การรับรอง
8. เป็นครูพี่เลี้ยงในโครงการสถาปนิกฝึกหัด
9. กิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การเป็นผู้แทนของสภาฯ องค์กรวิชาชีพ ที่สภาฯ
รับรอง / การเป็นกรรมการ / อนุกรรมการ อื่น ๆ /
การเข้าร่วมกิจกรรมจรรโลงวิชาชีพ – บริการสังคม /
การเข้าร่วมประชุมใหญ่สภาฯ และสมาคมวิชาชีพ ซึ่งต้องเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 1
ครั้ง ใน 5 ปี
10. การเข้าร่วมกิจกรรมบรรยาย ประชุม สัมมนาโดยองค์กร อื่น ๆ
ที่ไม่ใช่ผู้จัดกิจกรรม พวต . ที่สภาฯ ให้การรับรองเนื้อหา สาระวิชา /
กิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถเท่าที่สำรวจจากโครงการ CPD
ที่นานาประเทศดำเนินการ และที่คณะอนุกรรมการพัฒนา สรุป เสนอสภาพัฒนา
จะครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้
1. การรื้อฟื้นหลักการ และความรู้พื้นฐานด้านต่าง ๆ เช่น ออกแบบ / เทคโนโลยีการก่อสร้าง / สิ่งแวดล้อม / นิเวศน์วิทยา
2. ระเบียบ / กฎหมาย / เทคนิคการปฏิบัติวิชาชีพ ที่เปลี่ยนแปลง หรือปฏิบัติเป็นสากล
3. ความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพโดยตรง
4. ความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง / ข้างเคียง เช่น
เทคโนโลยี การก่อสร้าง / วัสดุก่อสร้างใหม่ๆ เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบ
5. ความรู้เฉพาะทาง และที่ได้รับประกาศนียบัตร / ปริญญา
6. ความรู้ด้านการศึกษา และการวิจัยสถาปัตยกรรม
7. การทำงานบริการสังคม และเพื่อการจรรโลงวิชาชีพ
หมายเหตุ
: กิจกรรม CPD และเนื้อหาสาระวิชา / กิจกรรมฝึกอบรมนี้ผู้จัดกิจกรรม พวต.
แต่ละแห่ง จะต้องวางแผนกิจกรรม โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
และความพร้อมของตน และนำเสนอเพื่อให้สภาฯ ให้การรับรองก่อนประกาศใช้
สถาปนิกทั้งหลายสามารถเลือกทำกิจกรรมข้ามสาขาได้ซึ่งจะทำให้โอกาสเข้าร่วม
กิจกรรมมีหลากหลายตามความสนใจของตน
การรับรองหน่วย CPD
ให้ผู้จัดกิจกรรม CPD เป็นผู้ออกเอกสารรับรองหน่วย CPD
ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ผ่านการเข้าร่วมหลักสูตร หรือกิจกรรม
เพื่อเป็นหลักฐานให้ผู้จัดกิจกรรม CPD รายงานการรับรองหน่วย CPD ให้แก่สภาฯ
ภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นสุดกิจกรรม การเข้าร่วมกิจกรรม CPD
ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลือกเข้ารับ หรือเข้าร่วมกิจกรรม CPD
ใดก็ได้โดยอิสระ เพื่อให้ได้รับหน่วย CPD ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
1. ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องการต่อใบอนุญาตฯ จะต้องได้รับหน่วย CPD ไม่น้อยกว่า 60 หน่วย (หรือ 12 หน่วย ต่อปี ตลอด ระยะ เวลา 5ปี)
2. หน่วย CPD ที่ต้องทำไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวน หน่วย CPD
ที่ต้องการทั้งหมดต้องได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม CPD
ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องโดยตรง กับวิชาชีพสถาปัตยกรรมในสาขาของตน
ตามที่สภาฯ กำหนด
3. หน่วย CPD สะสมได้มากที่สุดไม่เกิน 20 หน่วยในแต่ละปี
การแก้ไข CPD ในปี 2554
การแก้ไข CPD ในปี 2554
จากการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกสภาสถาปนิกเกี่ยวกับ
ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วย
การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่เป็นบุคคล
ธรรมดา พ.ศ.2552 (พวต.) จากเวทีวิพากษ์ พวต. และการประชุมเสวนาต่างๆ
ซึ่งสภาสถาปนิก และสมาคมวิชาชีพได้จัดขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค
ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นั้น
คณะกรรมการสภาสถาปนิกได้ทำการสรุปผล และมีมติให้เสนอร่างแก้ไขข้อบังคับฯ
ดังกล่าว เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญสถาปนิกในวันที่ 26 มีนาคม
พ.ศ.2554 ทั้งนี้ มีเนื้อหาของการแก้ไขใน 3 ประเด็นหลักดังนี้
1) ยกเลิกเรื่องหน่วยพวต.ที่ต้องใช้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตฯ และข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ยังคงไว้สำหรับการสะสมหน่วยพวต.เพื่อการเลื่อนระดับฯ เท่านั้น
2) ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ในการสะสมหน่วยพวต. โดยการสะสมหน่วยต่อปีให้ได้มากสุด 24 หน่วย (เดิม 20 หน่วย) สามารถสะสมหน่วยพวต.ปีเว้นปีได้ รวมทั้งยกเลิกหลักเกณฑ์ 2 ใน 3 หน่วยพวต.ที่สะสมที่ต้องมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมใน สาขาของตน
3) แก้ไขขอบข่ายกิจกรรมพวต. โดยเสนอให้กิจกรรมพวต.ประเภทอื่นๆ นอกจาก การบรรยาย อบรม สัมมนา ดูงาน และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน มีการประกาศกำหนดภายหลัง
ทั้งนี้ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สภาสถาปนิกจะเสนอให้ทำการสอบถามความเห็นจากสมาชิกเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
1) ยกเลิกเรื่องหน่วยพวต.ที่ต้องใช้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตฯ และข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ยังคงไว้สำหรับการสะสมหน่วยพวต.เพื่อการเลื่อนระดับฯ เท่านั้น
2) ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ในการสะสมหน่วยพวต. โดยการสะสมหน่วยต่อปีให้ได้มากสุด 24 หน่วย (เดิม 20 หน่วย) สามารถสะสมหน่วยพวต.ปีเว้นปีได้ รวมทั้งยกเลิกหลักเกณฑ์ 2 ใน 3 หน่วยพวต.ที่สะสมที่ต้องมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมใน สาขาของตน
3) แก้ไขขอบข่ายกิจกรรมพวต. โดยเสนอให้กิจกรรมพวต.ประเภทอื่นๆ นอกจาก การบรรยาย อบรม สัมมนา ดูงาน และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน มีการประกาศกำหนดภายหลัง
ทั้งนี้ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สภาสถาปนิกจะเสนอให้ทำการสอบถามความเห็นจากสมาชิกเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป
ข้อมูลเพิ่มเติม ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วย พวต.
ข้อบังคับสภาสถาปนิก ยกเลิก พวต.สรุป
พวต.นั้นเกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้วิชาชีพสถาปนิกมีมาตราฐานเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นการรับรองวิชาชีพให้ผู้บริโภคมั่นใจในตัวสถาปนิกมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นการกระตุ้นให้สถาปนิกมีการตื่นตัวในการพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งระบบนี้มีการใช้มาแล้วในหลายประเทศ ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้นก็มีหลายกระแสออกมาต่อต้าน เนื่องจากระบบนี้จะทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นในการประกอบวิชาชีพในการต้องคอยพะวงในเรื่องของคะแนนที่จะได้รับ ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น มีความเห็นว่า ในการเปิดประชาคมอาเซี่ยนนั้น สถาปนิกไทยควรจะได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมกับทุกประเทศ อย่างน้อยCPDนี้ก็เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดถึงมาตราฐานของสถาปนิกไทยทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้รับบริการทั้งจากในและนอกประเทศ เราไม่ควรจะเอาความสบายเป็นหลักในการทำงานและปฎิเสธความเป็นไปเช่นนี้
แหล่งที่มา : http://www.technologymedia.co.th/news/newsview.asp?id=3235
http://www.asa.or.th/?q=node/98970
http://tlp.excellencegateway.org.uk/tlp/stem/resource2/gettingstarted.html
http://anon-72.blogspot.com/2010/09/cpd_14.html
http://www.matterloft.com/webboard_view.php?cid=2&ids=33
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น