วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ร่างข้อบังคับการ พัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (พวต.) Continuing Professional Development (CPD)

 อะไรคือ การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือ พวต. (Continuing Professional Development : CPD) ??

       การ พัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือ พวต. (Continuing Professional Development : CPD) คือการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมทุกระดับ โดยการเข้าร่วมหลักสูตรหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์หรือมีเนื้อหาสาระในอัน ที่จะยกระดับความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม


เกี่ยวกับระบบ CPD

หลักการทั่วไปของระบบ CPD
จุดมุ่งหมายของระบบ CPD คือการช่วยให้คุณ:
      เน้นความเป็นมืออาชีพ
     เก็บบันทึกส่วนตัวของกิจกรรม CPD 
     วางแผนอาชีพการพัฒนาตนเองและในอนาคตขอ
     หลักฐานความสามารถของคุณที่จะอยู่ใน 'สถานะที่ดี'


วงจรการวางแผนการเป็นกระบวนการซ้ำ ซึ่งจะสามารถตีความแตกต่างกันขั้นตอนขึ้นอยู่กับว่าคุณตั้งค่าออกในการเดินทางการพัฒนามืออาชีพเป็นครั้งแรกหรือมีส่วนร่วมอยู่แล้วในแผนพัฒนาอย่างต่อเนื่องส่วนบุคคล

 ซึ่งในแง่ทางวิชาชีพสถาปนิก         
          ทาง สภาสถาปนิกในฐานะที่เป็นหน่วยงานส่งเสริม และกำกับมาตรฐานในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม จึงได้ดำเนินการโครงการการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (Continuing Professional Development : CPD) โดยมุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งทางวิชาชีพ และพัฒนาศักยภาพความสามารถและประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ซึ่งเป็นการประกันมาตรฐาน และคุณภาพการให้บริการทางวิชาชีพ



       เรื่องของ CPD ได้มีการกล่าวถึงมานานพอสมควรแล้ว พร้อมๆ กับเรื่องของ Internship Development Program - IDP ซึ่งคาดว่าจะมีร่างข้อบังคับตามมาในอนาคต หลักการของการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องตามที่เขียนไว้ในหลักการและเหตุผลของ ร่างข้อบังคับว่า 'เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมจะมีความรู้ความสามารถ ที่ทันสมัยอยู่เสมอ อันจะเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมั่นต่อสาธารณชนในการให้บริการวิชาชีพ อีกทั้งเพื่อให้เป็นไปตามหลักการมาตรฐานระดับนานาชาติซึ่งมีการบังคับให้ผู้ ประกอบวิชาชีพได้เพิ่มพูนความรู้ความสามารถและเสริมประสบการณ์ใหม่ๆ ในระหว่างที่ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ 


โดย ใน การประชุมใหญ่สามัญสภาสถาปนิก ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552 ได้มีการพิจารณาและผ่านร่างข้อบังคับสภาสถาปนิก 2 ฉบับ ได้แก่

       1) ร่าง ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แต่ละระดับ การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการออกหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาต พ.ศ. …. และ
       2) ร่าง ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. ….

       สาระสำคัญของร่างข้อบังคับ ฉบับนี้คือ กำหนด ให้ผู้ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อเก็บหน่วย พวต. ไว้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาต และใช้ประกอบการเลื่อนระดับเป็นสามัญสถาปนิกหรือวุฒิสถาปนิก ซึ่งหลักเกณฑ์โดยทั่วไปก็คือต้องสะสมหน่วยพวต. 12 หน่วยต่อปี ส่วนกิจกรรมพวต. ตามปกติได้แก่ การบรรยาย การฝึกอบรม ประชุมสัมมนา การศึกษาดูงาน หรือการอื่นในทำนองเดียวกัน แต่ก็ยังรวมไปถึงกิจกรรมอีกหลายอย่างที่เป็นการ contribute ให้แก่สังคม แก่วิชาชีพ เช่น การเป็นวิทยากร เขียนบทความหรือแต่งหนังสือตำราทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย การร่วมทำงานในองค์กรหรือสมาคมทางวิชาชีพ ฯลฯ

       ในร่าง ข้อบังคับฉบับนี้ได้กำหนดกรอบของการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องในเรื่อง ต่างๆ นอกจากเรื่องจำนวนหน่วย พวต. แล้ว ยังได้กำหนดกรอบในเรื่องของ กิจกรรมพวต. ผู้จัดกิจกรรมพวต. การยื่นหลักฐานหน่วยพวต. มาตรการในกรณีหน่วยพวต.ไม่ครบตามที่กำหนด ฯลฯร่างข้อบังคับฉบับนี้มีบทเฉพาะกาลเพื่อยกเว้นไม่ต้องยื่นหลักฐาน พวต. ให้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตและการเลื่อนระดับในระยะ 1 ปีหลังออกข้อบังคับ และผ่อนผันจำนวนหน่วย พวต. สำหรับการต่ออายุและเลื่อนระดับในระยะ 1-5 ปีหลังออกข้อบังคับ
           
    ตาม ที่ร่างข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง (Continuing Professional Development) CPD หรือ พวต. ผ่านการรับรองโดยเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกผู้เข้าประชุมใหญ่สภา สถาปนิกประจำปี 2552 เมื่อวันเสาร์ ที่ 25 เมษายน 2552 แล้ว โดยมีข้อแนะนำจากสมาชิกที่ต้องปรับ แก้ให้ข้อบังคับมีความชัดเจนสมบูรณ์ ก่อนที่สภาฯ จะเสนอกระทรวงมหาดไทยเพื่อประกาศใช้เป็นทางการต่อไป เพื่อให้สมาชิกสภาสถาปนิกทุกท่านได้ทำความเข้าใจถึงที่มา และเหตุผลเจตนารมณ์หลักการ และวิธีดำเนินการในการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องอีกครั้ง ก่อนที่จะเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง คณะอนุกรรมการพัฒนาวิชาชีพ ขอสรุปประเด็นสำคัญเพื่อเผยแพร่แก่สมาชิกทุกท่านอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้

เจตนารมณ์ ของ CPD

       1 . การพัฒนาวิชาชีพศึกษาต่อเนื่อง (CPD) เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) ที่ให้สถาปนิกได้มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพใหม่ตลอดเวลา เพื่อให้มีความสามารถในการทำหน้าที่ตอบสนองสังคม และส่วนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจริยธรรม และสำนึกรับผิดชอบต่อ ผลกระทบ ที่จะเกิดจากการปฏิบัติวิชาชีพของตน CPD ที่สภาสถาปนิกผลักดันให้เกิดขึ้น มิใช่เป็นเพียงการสร้างความเข้มแข็งในทางวิชาการวิชาชีพแก่สถาปนิกเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการส่งเสริมให้สถาปนิกมีบทบาทในการทำงานเพื่อสังคมด้วยจิตอาสา มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม เสียสละเวลา และมีส่วนร่วมกิจกรรมจรรโลงวิชาชีพ ตามกำลัง และความถนัดเพื่อร่วมพัฒนาวิชาสถาปัตยกรรมให้เจริญก้าวหน้าไม่หยุดนิ่ง ทั้งในฐานะผู้รับผู้ร่วมกิจกรรม หรือในฐานะผู้ให้ ผู้ชี้แนะแก่สถาปนิกรุ่นเยาว์ ด้วยประสบการณ์ที่ท่านสั่งสมมาตลอดชีวิตการทำงานวิชาชีพ
       2 . เมื่อ CPD กลายมาเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการทำงานข้ามพรมแดน (Cross Border) ของสถาปนิกภายใต้สัญญาการค้าเสรี สถาปนิกหลายท่านเห็นว่า CPD กลายเป็นเงื่อนไขข้อกีดกันทางการค้า แต่หากพิจารณาด้วยเหตุผล และใจที่เป็นกลาง CPD เป็นเพียงกลไกเทียบเคียงคุณภาพของสถาปนิกนั่นเอง

รายละเอียดร่างของ พวต. สามารถอ่านได้ที่ http://anon-72.blogspot.com/2010/09/cpd_14.html
เนื่องจากปัญหา

· สถาปนิกที่เพิ่งจบมา เข้าทำงานนั้น ปฏิบัติวิชชาชีพไม่เป็น
· ความไม่มีมาตราฐานทางการศึกษา ปัญหาคุณภาพของมหาวิทยาลัย
· ในยุคปัจจุบัน ต้องการคนที่รู้จริง มีความสามารถ
 
ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น

· เพื่อยกระดับคุณภาพของวิชชาชีพ เพื่อสร้างคนเก่ง
· เพื่อแก้ปัญหาระดับการศึกษาที่ไม่เท่ากัน

หลักการ

 - ต้องการ 60 หน่วย พวต. ภายใน 5 ปี
 - 12 หน่วย พวต. / ปี
 - คะแนน 2-6 หน่วย ต่อ 1 กิจกรรม (คะแนนจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมนั้นๆ)
 - หลักสูตรไม่จ้องอนุมัติโดยกรรมการ แต่สามารถยื่นขอได้
ผู้จัดกิจกรรม CPD ได้แก่ สถาบัน องค์กร หรือ หน่วยงาน ดังต่อไปนี้
       1. สภา สถาปนิก
       2. องค์กร หรือ สมาคมทางวิชาชีพที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
       3. สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ทำการสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมที่ได้รับการรับรองปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร และ สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
       4. หน่วยงานของรัฐที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
       5. สถาบัน องค์กร หรือ หน่วยงานอื่นๆ ที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ผู้จัดกิจกรรม CPD จะต้องเสนอแผนกิจกรรมเพื่อให้สภาฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ รายการกิจกรรม และ การกำหนดหน่วย CPD เสียก่อนที่จะเริ่มต้นกิจกรรมไม่น้อยกว่า 45 วัน

กิจกรรม CPD

       ประเด็นนี้ สมาชิกหลายท่านยังเข้าใจผิดว่า CPD เน้นแต่การฝึกอบรม หรือการศึกษาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มเติมเท่านั้น แต่ CPD ที่สภาฯ กำหนดนี้อยู่ในขอบข่ายกิจกรรม ที่ค่อนข้างหลากหลาย ดังต่อไปนี้
       1. การฝึกอบรม / ประชุม สัมมนา หรือ อื่น ๆ
       2. เป็นวิทยากรในหลักสูตร หรือ กิจกรรมตามข้อ 1
       3. เขียนบทความวิชาการ และ เผยแพร่ในการประชุมวิชาการ โดยมีเนื้อหาวิชาชีพ และสภาฯ ให้การรับรอง
       4. เขียนหนังสือ / ตำราวิชาการที่เกี่ยว กับ วิชาชีพ และเผยแพร่ โดยสภาฯ ให้การรับรอง
       5. เสนอผลงานวิจัย / วิชาการต่อที่ประชุมวิชาการโดยมีเนื้อหาวิชาชีพ และสภาฯ ให้การรับรอง
       6. สำเร็จการศึกษาในระดับสูงขึ้น ในหลักสูตร / สาขาที่สภาฯ ให้การรับรอง
       7. เป็นกรรมการ / อนุกรรมการ / คณะทำงานในสภาฯ หรือองค์กรวิชาชีพที่สภาฯ ให้การรับรอง
       8. เป็นครูพี่เลี้ยงในโครงการสถาปนิกฝึกหัด
       9. กิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การเป็นผู้แทนของสภาฯ องค์กรวิชาชีพ ที่สภาฯ รับรอง / การเป็นกรรมการ / อนุกรรมการ อื่น ๆ / การเข้าร่วมกิจกรรมจรรโลงวิชาชีพ – บริการสังคม / การเข้าร่วมประชุมใหญ่สภาฯ และสมาคมวิชาชีพ ซึ่งต้องเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ใน 5 ปี
       10. การเข้าร่วมกิจกรรมบรรยาย ประชุม สัมมนาโดยองค์กร อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ผู้จัดกิจกรรม พวต . ที่สภาฯ ให้การรับรองเนื้อหา สาระวิชา / กิจกรรมฝึกอบรมเพิ่มพูนความรู้ ความสามารถเท่าที่สำรวจจากโครงการ CPD ที่นานาประเทศดำเนินการ และที่คณะอนุกรรมการพัฒนา สรุป เสนอสภาพัฒนา จะครอบคลุมเนื้อหาดังต่อไปนี้
              1. การรื้อฟื้นหลักการ และความรู้พื้นฐานด้านต่าง ๆ เช่น ออกแบบ / เทคโนโลยีการก่อสร้าง / สิ่งแวดล้อม / นิเวศน์วิทยา
              2. ระเบียบ / กฎหมาย / เทคนิคการปฏิบัติวิชาชีพ ที่เปลี่ยนแปลง หรือปฏิบัติเป็นสากล
              3. ความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพโดยตรง
              4. ความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง / ข้างเคียง เช่น เทคโนโลยี การก่อสร้าง / วัสดุก่อสร้างใหม่ๆ เทคโนโลยีเพื่อการออกแบบ
              5. ความรู้เฉพาะทาง และที่ได้รับประกาศนียบัตร / ปริญญา
              6. ความรู้ด้านการศึกษา และการวิจัยสถาปัตยกรรม
              7. การทำงานบริการสังคม และเพื่อการจรรโลงวิชาชีพ

       หมายเหตุ : กิจกรรม CPD และเนื้อหาสาระวิชา / กิจกรรมฝึกอบรมนี้ผู้จัดกิจกรรม พวต. แต่ละแห่ง จะต้องวางแผนกิจกรรม โดยพิจารณาให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และความพร้อมของตน และนำเสนอเพื่อให้สภาฯ ให้การรับรองก่อนประกาศใช้ สถาปนิกทั้งหลายสามารถเลือกทำกิจกรรมข้ามสาขาได้ซึ่งจะทำให้โอกาสเข้าร่วม กิจกรรมมีหลากหลายตามความสนใจของตน


การรับรองหน่วย CPD

       ให้ผู้จัดกิจกรรม CPD เป็นผู้ออกเอกสารรับรองหน่วย CPD ให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ผ่านการเข้าร่วมหลักสูตร หรือกิจกรรม เพื่อเป็นหลักฐานให้ผู้จัดกิจกรรม CPD รายงานการรับรองหน่วย CPD ให้แก่สภาฯ ภายใน 30 วัน นับจากวันสิ้นสุดกิจกรรม การเข้าร่วมกิจกรรม CPD ผู้ประกอบวิชาชีพสามารถเลือกเข้ารับ หรือเข้าร่วมกิจกรรม CPD ใดก็ได้โดยอิสระ เพื่อให้ได้รับหน่วย CPD ตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
       1. ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องการต่อใบอนุญาตฯ จะต้องได้รับหน่วย CPD ไม่น้อยกว่า 60 หน่วย (หรือ 12 หน่วย ต่อปี ตลอด ระยะ เวลา 5ปี)
       2. หน่วย CPD ที่ต้องทำไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 ของจำนวน หน่วย CPD ที่ต้องการทั้งหมดต้องได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรม CPD ที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องโดยตรง กับวิชาชีพสถาปัตยกรรมในสาขาของตน ตามที่สภาฯ กำหนด
       3. หน่วย CPD สะสมได้มากที่สุดไม่เกิน 20 หน่วยในแต่ละปี

การแก้ไข CPD ในปี 2554

   จากการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกสภาสถาปนิกเกี่ยวกับ ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วย การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่เป็นบุคคล ธรรมดา พ.ศ.2552 (พวต.) จากเวทีวิพากษ์ พวต. และการประชุมเสวนาต่างๆ ซึ่งสภาสถาปนิก และสมาคมวิชาชีพได้จัดขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นั้น คณะกรรมการสภาสถาปนิกได้ทำการสรุปผล และมีมติให้เสนอร่างแก้ไขข้อบังคับฯ ดังกล่าว เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญสถาปนิกในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2554 ทั้งนี้ มีเนื้อหาของการแก้ไขใน 3 ประเด็นหลักดังนี้


1) ยกเลิกเรื่องหน่วยพวต.ที่ต้องใช้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตฯ และข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ยังคงไว้สำหรับการสะสมหน่วยพวต.เพื่อการเลื่อนระดับฯ เท่านั้น


2) ‎ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ในการสะสมหน่วยพวต. โดยการสะสมหน่วยต่อปีให้ได้มากสุด 24 หน่วย (เดิม 20 หน่วย) สามารถสะสมหน่วยพวต.ปีเว้นปีได้ รวมทั้งยกเลิกหลักเกณฑ์ 2 ใน 3 หน่วยพวต.ที่สะสมที่ต้องมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมใน สาขาของตน


3) แก้ไขขอบข่ายกิจกรรมพวต. โดยเสนอให้กิจกรรมพวต.ประเภทอื่นๆ นอกจาก การบรรยาย อบรม สัมมนา ดูงาน และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน มีการประกาศกำหนดภายหลัง
ทั้งนี้ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สภาสถาปนิกจะเสนอให้ทำการสอบถามความเห็นจากสมาชิกเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป

          ข้อบังคับสภาสถาปนิก ยกเลิก พวต.

สรุป
 พวต.นั้นเกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้วิชาชีพสถาปนิกมีมาตราฐานเพิ่มมากขึ้น พร้อมทั้งเป็นการรับรองวิชาชีพให้ผู้บริโภคมั่นใจในตัวสถาปนิกมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งเป็นการกระตุ้นให้สถาปนิกมีการตื่นตัวในการพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งระบบนี้มีการใช้มาแล้วในหลายประเทศ ถึงแม้จะเป็นอย่างนั้นก็มีหลายกระแสออกมาต่อต้าน เนื่องจากระบบนี้จะทำให้เกิดความยุ่งยากขึ้นในการประกอบวิชาชีพในการต้องคอยพะวงในเรื่องของคะแนนที่จะได้รับ ในความเห็นส่วนตัวของผู้เขียนนั้น มีความเห็นว่า ในการเปิดประชาคมอาเซี่ยนนั้น สถาปนิกไทยควรจะได้รับการพัฒนาให้เท่าเทียมกับทุกประเทศ อย่างน้อยCPDนี้ก็เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดถึงมาตราฐานของสถาปนิกไทยทำให้ได้รับการยอมรับจากผู้รับบริการทั้งจากในและนอกประเทศ เราไม่ควรจะเอาความสบายเป็นหลักในการทำงานและปฎิเสธความเป็นไปเช่นนี้


แหล่งที่มา : http://www.technologymedia.co.th/news/newsview.asp?id=3235
                   http://www.asa.or.th/?q=node/98970
                   http://tlp.excellencegateway.org.uk/tlp/stem/resource2/gettingstarted.html
                   http://anon-72.blogspot.com/2010/09/cpd_14.html
                   http://www.matterloft.com/webboard_view.php?cid=2&ids=33

วันเสาร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สถาปนิกรุ่นพี่ Idol

      ในบ่ายวันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556 ฉันได้มีโอกาสไปสัมภาษณ์ พี่โบ หรือ คุณยงยุทธ ศรีอุทัย สถาปนิกรุ่นพี่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถานที่ให้สัมภาษณ์นั้นไม่ใช่ที่อื่นไกล แต่เป็นร้านฮังกรี อินตารี่ ตรงเกษตรนวมินทร์นี่เอง เวลานัดหมายคือ 13.00 น. ซึ่งในวันนี้ฉันมาถึงก่อนเวลานิดหน่อย ฉันรออยู่ได้ไม่นานพี่โบก็มาถึง ชายหนุ่มมีอายุอยู่ในเสื้อเชิ้ตลายสก็อต ท่าทางรีบร้อน ก่อนจะนั่งลงที่ฝั่งตรงข้ามของฉัน และการสัมภาษณ์ก็ได้เริ่มต้นขึ้น


สวัสดีค่ะ พี่โบ ช่วยเล่าประวัติส่วนตัวสักหน่อยได้ไหมคะ ? พี่เรียนที่ไหนอย่างไรบ้าง? แล้วก็ประวัติการทำงานเป็นอย่างไรบ้างคะ?

"ผมก็เข้าศึกษาที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง เมื่อปี 2517 แล้วก็จบออกมาในปี 2521 โดยในตอนแรกก็ได้ไปทำงานที่บริษัท แหลมทองสหการ ที่ทำเกี่ยวกับอาหารสัตว์รวมถึงทำกระสอบด้วย โดยที่ทำงานอยู่ฝ่ายออกแบบทำได้สักระยะบริษัทฯก็ได้ทำสำนักงานใหญ่ตรงเส้นเพชรบุรีตัดใหม่โดยให้บริษัท MH PLANNING ออกแบบโดยผมที่เป็นสถาปนิกทางฝ่ายเจ้าของ จากนั้นก็ได้ทำงานกับบริษัท Inter design ของ อ.เจตกำจร พรหมโยธีสำนักงานอยู่ที่หลังสวน งานส่วนใหญ่เป็นงานโรงแรมโดยได้ร่วมงานออกแบบรายละเอียดโรงแรมเซ็ลทรัลพลาซ่า ทำงานได้ปีกว่าก็ย้ายไปทำงานที่ Design Devolopของ อ.มติ ตั้งพานิช ซึ่งเข้าไปก็ได้ทำงานออกแบบรายละเอียดอพาร์ทเม้นต์ได้ระยะหนึ่งก็กลับมาที่ inter design อีกครั้ง โดยได้ทำงานออกแบบรายละเอียดโรงแรมแชงการีล่า โดยทำงานร่วมกับบริษัทออกแบบจากญี่ปุ่นทำให้เราได้พัฒนาความรู้และได้รับประสบการณ์ไปด้วย หลังจากนั้นก็ออกมาตั้งบริษัทเองตอนปี 2528 โดยจัดทำบริษัทชื่อบริษัท เบรนเนีย นรินทร์แอนต์แอสโซซิเเอทส์ จำกัดโดยงานออกแบบจะเป็นอาคารทั่วไป ตั้งแต่บ้านจนถึงตึกสูง "

อยากถามถึงการทำงานในบริษัทน่ะคะ ทำงานอย่างไร? แล้วก็มีผลงานอะไรบ้างคะ?

"  บริษัทผมมีพนักงานน้อยจึงเน้นการบริหารงานออกแบบและส่งออกไปให้คนนอกทำเป็นส่วนใหญ่การทำแบบนี้มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียนะการส่งให้คนนอกทำข้อดีคือเราจะสามารถควบคุมรายจ่ายและเวลาได้แต่ว่าถ้าเกิดแบบที่ได้มามีปัญหามันจะแก้ไขยากเพราะเราไม่ได้อยู่กับเขาตลอดเวลาเหมือนการให้คนภายในทำนะ ส่วนงานเด่นๆของบริษัทก็จะมี อาคารFifty fith Tower ซอยทองหล่อ , Modern town เอกมัย , โรงแรมทองธารินทร์จังหวัดสุรินทร์ โรงแรมการ์เด้นคลิป พัทยา แล้วก็ธนาคารกรุงไทยสาขาต่างๆที่เด่นๆก็คือ ตึกธนาคารกรุงไทยที่เป็นตึกคอมพิวเตอร์สาขา ถนนศรีอยุธยาที่เป็นงานชนะการประกวดแบบนั่นแหละนอกจากนี้ยังมีงานออกแบบในต่างประเทศอีกด้วยนั่นก็คือ โรงแรมธาราอังกอร์ที่ประเทศกัมพูชา
อาคาร Fifty fith Tower ทองหล่อ




โรงแรม การ์เด้น คลิฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา พัทยา




                                 



อาคารโมเดิร์น ทาวน์ เอกมัย










"ขณะนี้มีงานออกแบบศูนย์กีฬาที่อำเภอลำสามแก้ว ซึ่งเป็นพื้นที่สันทนาการชุมชนเป็นพื้นที่สีเขียวเน้นการเป็นสวนสาธารณะ เป็นที่สำหรับออกกำลังกาย มีทั้งยิมเนเซี่ยม ลู่วิ่ง ลู่จักรยาน สนามฟุตบอลรวมไปถึงเป็นสถานที่จัดงานต่างๆด้วยโดยมีแนวความคิดการรวมพื้นที่สันทนาการและกีฬามารวมอยู่ที่เดียวกันแล้วเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับการทำงานออกแบบกับลูกค้าที่ไม่มีพื้นทางสถาปัตยกรรมปัญหาอยู่ที่บางทีเขาก็ไม่เข้าใจในเรื่องการออกแบบโดยเราก็ต้องพยายามทำความเข้าใจเขาแล้วก็ให้เขาทำความเข้าใจเราโดยอย่าทำเหมือนว่าเขาไม่รู้เรื่องแล้วเราจะทำอะไรก็ได้เราต้องเข้าใจเขาให้มากๆ"

โรงแรมธาราอังกอร์ ประเทศกัมพูชา
แล้วในเรื่องการทำงานปกติพี่มีอุปสรรคอะไรบ้างไหมคะ เช่นเรื่องลูกค้าอะไรแบบนั้น?

" ก็มีเป็นเรื่องปกตินะแต่อยู่ที่มากน้อยก็เท่านั้น ก็เจอลูกค้าดีไม่ดีคละเคล้ากันไปเคยมีกรณีทำแบบร่างเสร็จลูกค้าบอกว่าไม่เอาแต่แบบอยู่ในมือเขาแล้ววันดีคืนดีเจอกลายเป็นหลังเลยก็มี แต่เราก็ทำอะไรไม่ได้ปล่อยๆเขาไปเรื่องนี้มันอยู่ที่ประสบการณ์การการอ่านลูกค้าให้ออกและการรับมือมากกว่า"
พี่โบมีข้อคิดที่สำรัญในการทำงานอย่างไรคะ?

" ซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพซื่อสัตย์ต่อลูกค้า"
"
การซื่อสัตย์ต่อวิชาชีพนั้นหมายถึงเราต้องทำงานให้เต็มที่ด้วยประสบการณ์ ค่าแบบก็เรื่องหนึ่งไม่ใช่ว่าได้ค่าแบบน้อยเราจะทำงานน้อยตามไปด้วย เพราะว่าเมื่อสรุปแล้วต้องทำให้เต็มที่การทำงานทำในสิ่งที่ถูกต้อง เวลาคุยกับลูกค้าก็ต้องแนะนำในสิ่งที่ถูกต้องด้วยประสบการณ์อย่าทำงานแค่ผ่านๆ ต้องคำนึงตลอดเวลา"งานเราทำเสร็จ เราก็ไปแต่งานเราจะอยู่กับลูกค้าไปตลอดมันเป็นถาวรวัตถุ"ดังนั้นเราจึงต้องระลึกให้มากๆ

เรื่องเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้วก็เกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพ พี่มีความเห็นว่าอย่างไรบ้างคะ?

เกี่ยวกับการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างแรกที่เราต้องคิดถึงเลยไม่ใช่ว่าเราออกแบบแล้วกลายเป็นว่าตัวงานของเรานั้นไปทำลายพื้นที่ในเขตนั้นๆแทนที่จะเป็นตัวเสริมมันก็ไม่ดีซึ่งการคำนึงถึงเรื่องนี้ก็ถือเป็นเรื่องเกี่ยวกับจรรยาบรรณอย่างหนึ่งเหมือนกันประเทศเรามันไม่มีระบบการทำประชาพิจารณ์ในการทำโครงการ ไม่เหมือนเมืองนอกบางที่ในการคำนึงถึงจรรยาบรรณนั้นเป็นการให้สิ่งที่ถูกต้องกับลูกค้า
อย่างที่พูดไปแล้วคือ อาคารมันจะอยู่กับลูกค้าไปตลอดดังนั้นเราต้องอย่าเอาตัวเองเข้าไปใส่ในงาคือหมายความว่าอย่าคิดว่าตัวเราเป็นเจ้าของอยากทำอะไรก็ทำโดยที่ไม่นึกถึงความต้องการจริงๆของลูกค้า ไม่ใช่ว่าจะคิดเอาแต่สนุก เอามันเอาสิ่งที่เราชอบ ทำให้กลายเป็นอาคารของเราอย่างเดียวเพราะท้ายที่สุดเมื่อเราออกแบบงานเสร็จ มันจะเป็นอาคารของลูกค้าไม่ใช่ของเราลูกค้าตะหากที่จะต้องอยู่กับอาคารนั้นตลอดไปเขามีคำว่าสถาปนิกมีทั้งประชาธิปไตยและเผด็จการ มันแล้วแต่ที่เราจะเลือกแต่ถ้าจะเป็นประชาธิปไตยก็ต้องฟังให้มากขึ้น

 

ในสายตาพี่สถาปนิกรุ่นใหม่ๆที่ลาดกระบังผลิตออกมาเป็นอย่างไรบ้างคะ และในเรื่องของหลักสูตรอยากให้มีการปรัปปรุงแบบไหนไหม?



ในบริษัทพี่ก็ที่ผ่านมาเคยมีเด็กลาดกระบังอยู่หลายคนเหมือนกันแต่ตอนนี้ก็ออกไปแล้ว เด็กสมัยนี้มีสิ่งดึงความสนใจเข้ามาเยอะในหลายๆเรื่องจึงทำให้สนใจการเรียนน้อยลง คุณภาพโดยเฉลี่ยก็จะลดลงไปด้วยพี่ว่าเราควรจะให้ความสำคัญกับเรื่องประสบการณ์ให้มากกว่านี้การเรียนก็ควรจะเน้นในนักศึกษารู้ว่าของจริงเป็นอย่างไรเด็กก็ต้องรู้จักการพัฒนาตัวเองด้วย ไม่ใช่ว่าโตแล้วแต่ก็ยังเป็นเด็กอยู่พยายามทำงานจริงให้มาก อย่าไปห่วงเรื่องค่าแรงค่าจ้างให้เยอะให้น้อยเพราะในการเข้าใจเรื่องของทฤษฏีกับปฏิบัติหรืองานจริงนี่จะทำให้เรามีประสบการณ์มากทำให้เราเข้าใจมากขึ้น เรื่องการเข้าห้องสมุดก็ด้วยบางครั้งการที่เราดูงานในหนังสือเราจะสามารถพินิจวิเคราะห์ได้ดีกว่าการดูผ่านหน้าจอคอมนะดังนั้นควรเข้าห้องสมุดให้มากๆ

เรื่องของเวลาควรจะแบ่งเวลาให้กับเรื่องวิชาการมากการทำงานก็ต้องอดทน สู้งาน สมัยนี้เด็กไม่ค่อยแกร่งเหมือนสมัยก่อน ฉะนั้นต้องปรับตัวให้เร็ว แต่ละครอบครัวก็ดูแลกันมาต่างกัน แต่ก็ต้องเข้าใจในการเรียนวิชาชีพนี้

 

ตอนที่พี่เรียนอยู่เป็นอย่างไรมั่งคะ 


ผมก็ทำกิจกรรมตลอดตั้งแต่ปี1จนถึงปี5 ปี1ก็จะหางานอย่างตอนปิดเทอมก็มีมาตัดโมเดลคณะ ไปช่วยทีสิสทั้งที่นี่ทั้งที่ศิลปากรโดยจะไม่ปล่อยให้เวลาปิดเทอมสูญเปล่า
ช่วงเรียนอยู่ผมอยู่ชมรมดนตรีแต่คณะไม่มีห้องดนตรีผมก็ใช้วิธีแอบใช้ห้องเก็บของเป็นห้องซ้อมโดยเอาออกให้หมดแล้วเอาเครื่องดนตรีเข้าไปไว้แทนพออาจารย์จับได้ก็โดนว่าว่า ทำไมถึงไม่ยอมบอกก่อนแต่สุดท้ายก็ได้ใช้ห้องนั้นเป็นห้องเล่นดนตรีไปซึ่งก็ไม่ถูกต้องนักควรจะแจ้งอาจารย์ก่อน และก็มีเรื่องวุ่นวายตอนช่วง 6 ตุลาคม2519 บรรยากาศการเรียนส่วนใหญ่ก็ไม่ค่อยต่างจากที่เป็นอยู่เท่าไหร่เพียงแต่ว่าอาคารมีน้อยกว่าปัจจุบันนี้โดยอาคารเรียนก็จะเป็นบริเวณสตูและโรงปฏิบัติการ
สังคมในคณะนี่ ทั้งพี่ๆและเพื่อนๆในคณะจะสนิทกัน อาจจะด้วยความที่เป็นคนที่ประกอบวิชาชีพแบบเดียวกันก็ทำให้คุยกันรู้เรื่องง่ายจนถึงขณะนี้ก็มีการติดต่อกันตลอดการเรียนที่นี่ในสมัยนั้นจะผูกพันกับเวลาเป็นเพราะที่นี่ใช้รถไฟในการเดินทาง ซึ่งมีรอบอย่างชัดเจน ถ้าสายก็คือต้องรอเที่ยวต่อไปดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับความตรงเวลามากเป็นพิเศษต่างจากสมัยนี้ที่จะเน้นที่การไปอยู่ในหอพักซึ่งใกล้แล้วทำให้ขาดการควบคุมเวลาการวางแผนจึงไม่ค่อยรัดกุม

คำถามข้อสุดท้ายพี่มีการแบ่งเวลาอย่างไรบ้างคะ

"การแบ่งเวลาทั้งขณะเรียนและทำงานเหมือนกันคือลำดับความสำคัญของงานที่จะทำก่อนและตัดที่ไม่จำเป็นหรืองานที่เลื่อนได้ออกไปก่อน จากนั้นคำนวณเวลาที่จะใช้ตามลำดับที่สำคัญต้องจัดการตัวเองว่าคุณภาพของงานกับเวลาต้องสัมพันธ์กันส่วนเรื่องครอบครัวครอบครัวก็ต้องเข้าใจงานแต่งานก็ต้องไม่มีผลต่อครอบครัว ต้องดู ณ โอกาสนั้น ความจำเป็น ความเหมาะสม เช่นการเรียนถาปัดเป็นวิชาที่ต้องใช้เวลามากเพราะงานปฏิบัติเป็นหลักย่อมไม่เหมือนการเรียนสาขาอื่น"
พี่โบมีอะไรจะฝากถึง น้องๆลาดกระบังยังที่เรียนอยู่ไหมค่ะ


"เล่นน้อยๆหน่อยสนใจวิชาชีพให้มากขึ้น พยายามทำอะไรที่เป็นสาระ เน้นเรื่องเรียนเป็นหลักและเราก็ต้องหัดสังคมกับภาควิชาอื่นด้วย อย่าอยู่กันแค่ในภาคเพราะสุดท้ายในชีวิตจริงเราตจะต้องทำงานร่วมกันทั้งหมดทุกภาคทุกสาขาก็เท่านี้แหละ"


สุดท้ายนี้ขอขอบคุณ พี่โบ คุณยงยุทธ ศรีอุทัย ที่เสียสละเวลามาให้สัมภาษณ์ในวันนี้นะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ นอกจากนี้ยังขอขอบคุณพี่สูง วาณิช สัมพัสนีธำรง ที่เป็นธุระติดต่อ และพีชที่เป็นคนกลางให้ด้วยนะค่ะ 


ด้วยรักและเคารพ
นางสาวรมย์รวี วงศ์ภากร รหัส 52020066